วันที่ 17 ธันวาคม ที่จังหวัดอุบลราชธานี น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่าในวันที่ 16-17 ธันวาคมนี้ ตนพร้อมด้วยนายสุทธิชัย จรูญเนตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ ศธ., น.ส.อรพินทร์ เพชรทัตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ ศธ. ,ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) และนพ.สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยในวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมาได้เยี่ยมชมห้องเรียนของโรงเรียนอนุบาลตระการพืชผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) อุบลราชธานีเขต 2 ซึ่งทำการสอนในระดับชั้นอนุบาล 1 ถึง ประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งสิ้น 860 คน นอกจากนี้ยังได้ไปเยี่ยมชมการนำเสนอผลงานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาและนักเรียน โดยใช้เครือข่ายพื้นที่เป็นฐาน จำนวน19 เครือข่ายสถานศึกษา ในเขตพื้นที่บริการ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอตระการพืชผล อำเภอนาตาล อำเภอเขมราฐอำเภอโพธิ์ไทร และอำเภอกุดข้าวปุ้น ที่ สพป.อุบลราชธานี เขต 2 ทั้งนี้ ในภาพรวมของสพป.อุบลราชธานี เขต 2 ที่มีโรงเรียนในสังกัดทั้งหมด 217 แห่ง ขณะนี้มีการเรียนการสอนในรูปแบบ On-site ทุกโรงเรียน น.ส.ตรีนุช กล่าวต่อไปว่า ตลอดระยะเวลา 8 เดือนที่ตนได้เข้ามาดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการ ศธ. มีความตั้งใจที่จะลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงนักเรียนมาโดยตลอด แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีความรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา จึงทำให้ต้องติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษาผ่านระบบออนไลน์มาเป็นระยะ และเริ่มมีโอกาสได้ทยอยลงพื้นที่ตามที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่เมื่อช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งอำเภอตระการพืชผล ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ตนให้ความสนใจ โดยได้หารือกับนายสุทธิชัย จรูญเนตร ที่ปรึกษา รมว.ศธ. ในฐานะคนพื้นที่ ให้ช่วยดูแลและประสานความช่วยเหลือให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ดังกล่าวอยู่สม่ำเสมอ ” โรงเรียนเป็นข้อต่อที่สำคัญของนักเรียนในช่วงเปลี่ยนผ่าน ทำอย่างไรที่จะทำให้เด็กที่จบการศึกษาชั้น ป.6 ทุกคนสามารถเข้าเรียนต่อในระดับชั้น ม.1 ได้ทุกคน ไม่ตกหล่นออกจากระบบ ข้อนี้เป็นโจทย์สำคัญที่อยากเน้นย้ำให้ทุกโรงเรียนให้ความสำคัญ ซึ่งโรงเรียนอนุบาลตระการพืชผล สามารถนำโจทย์ดังกล่าวมาพัฒนาการดำเนินงานได้ดีจนวันนี้นักเรียนของโรงเรียนทุกคนได้เข้าเรียนต่อ ม.1 ครบ 100% ก็ต้องขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้รักษาสิ่งดีๆ นี้ต่อไป” น.ส.ตรีนุช กล่าว ด้าน นพ.สราวุฒิ กล่าวว่า ข้อมูลการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 นักเรียนอายุ 12 ปีขึ้นไป ของ สพป.อุบลราชธานี เขต2 ได้รับวัคซีนเข็มหนึ่ง 4,231 คน คิดเป็น 74.40% ของนักเรียนทั้งหมด ได้รับเข็มสอง 2,444 คน คิดเป็น 42.98% ยังไม่ได้รับวัคซีน 1,456 คน คิดเป็น 25.60% ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับเข็มหนึ่ง 2,278 คน คิดเป็น 87.99% ได้รับเข็มสอง 1,524 คน คิดเป็น 58.86% ได้รับเข็มสาม 200 คน คิดเป็น 7.72% ยังไม่ได้รับวัคซีน 311 คน คิดเป็น 12.01% ซึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจ อย่างไรก็ตามขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีความพร้อมในการให้บริการฉีด Booster เข็ม 3 ให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ภายใน 3 เดือนหลังได้รับวัคซีนเข็ม 2 แล้ว ที่มา: https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3090844
ขอจัดตั้ง สถาบันเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษา
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดการประชุมคณะทำงานพิจารณาจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาสถาบันเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษา พ.ศ. … ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ชัยเลิศ พิชิตพรชัย เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยรองเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.พีระศักดิ์ รัตนะ) และคณะทำงาน ร่วมหารือในการประชุมร่วมกับคณะทำงานพิจารณาจัดทำร่างพระราชบัญญัติการบริหารข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษา พ.ศ. …ที่ผ่านมานั้นได้ร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดส.) และสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) ประสานและหาแนวทางการทำงานร่วมกันที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษารวมถึงได้พิจารณากฎหมายหลากหลายฉบับโดยมุ่งเน้นที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลบุคคลและอาชญากรรมไซเบอร์เป็นหลัก และที่ประชุมได้มีการเสนอให้ขยายฐานข้อมูลเพิ่มเติมจากเดิมระดับมัธยมศึกษาเป็นระดับบอุดมศึกษาเพื่อให้ครอบคลุมการศึกษาทุกระดับและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย ที่ประชุมหารือร่วมกันและพิจารณาแนวทางจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษา ตามร่างแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ฉบับปรับปรุง (ศาสตราจารย์ศรีราชา วงศารยางกูร) โดย ศาสตราจารย์ ดร. กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ คณะทำงานร่างแผนปฏิรูป ฯ มีข้อเสนอให้ออกกฎหมายในรูปแบบพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) สถาบันเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษาเป็นองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์กรมหาชน พ.ศ. ๒๕๕๒ มุ่งพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการศึกษาในรูปแบบดิจิทัลที่มีคุณภาพ เหมาะกับการศึกษาทุกระดับ ศึกษาวิจัย วิเคราะห์ เพื่อวางระบบและกลไกในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษา ประสานเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนารวบรวม จัดทำมาตรฐานตรวจสอบ… Continue reading ขอจัดตั้ง สถาบันเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษา
เห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พร้อมมอบให้สภาการศึกษา (สกศ.) จัดทำแนวทางการพัฒนาเด็กปฐมวัย
นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570 ซึ่งแผนดังกล่าวจะอยู่ภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานหลัก เช่น กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นต้น โดยจะเป็นการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยของประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีความเชื่อมโยงกับทุกกระทรวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในลักษณะของการบูรณาการ เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานสำหรับหน่วยงานทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับนโยบายไปจนถึงระดับปฎิบัติงาน พร้อมกับลดความซ้ำซ้อน ซึ่งที่สำคัญจะสนองต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 54 ที่กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพ รัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญหาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย ทั้งนี้เมื่อ ครม.ได้เห็นชอบร่างแผนดังกล่าวอย่างเป็นทางการแล้ว ตนได้มอบหมายสภาการศึกษา (สกศ.) เป็นเจ้าภาพในการจัดทำแนวทางการพัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อนำไปสู่การปฎิบัติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป ซึ่งการพัฒนาเด็กปฐมวัยมีความสำคัญอย่างมาก โดยส่วนตัวมองว่าหลักการเรียนวิทยาศาสตร์ควรนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วย เพราะจะสร้างทักษะให้เด็กคิดเป็นทำเป็นเรียนรู้เป็นแก้ไขปัญหาเป็น และปรับตัวในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข… Continue reading เห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พร้อมมอบให้สภาการศึกษา (สกศ.) จัดทำแนวทางการพัฒนาเด็กปฐมวัย
ศธ. ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ขับเคลื่อนให้สถานศึกษาปลอดภัย
น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานขับเคลื่อนนโยบายสถานศึกษาปลอดภัย ว่า การขับเคลื่อนให้สถานศึกษาปลอดภัย เป็นหนึ่งใน 7 วาระเร่งด่วนที่ตนจะขับเคลื่อนให้เห็นผลเป็นรูปธรรมซึ่งประชุมวันนี้ตนได้หารือกับตัวแทนจากกระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงคมนาคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ และฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมโดยจากการหารือร่วมกันในครั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)จะร่วมทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวันที่ 16 มิถุนายนนี้ที่ประชุมเห็นร่วมกันว่าความปลอดภัยในสถานศึกษา ความปลอดภัยของนักเรียน และความปลอดภัยของครู และบุลากรทางการศึกษา มีหลายด้าน หลายมิติ เช่นสำหรับความปลอดภัยในสถานศึกษาเราจะมีมาตรการการแก้ไขปัญหาเริ่มตั้งแต่ปัญหาการบูลี่ ความปลอดภัยด้านร่างกายและจิตใจ การบูลลี่ระหว่างกัน ความปลอดภัยด้านจราจร ความรุนแรงในเด็กและเยาวชน การแสดงความเห็นต่าง ทักษะการเอาตัวรอด เช่น ทักษะการว่ายน้ำ ความปลอดภัยด้านการจราจร รวมไปถึงความปลอดภัยของครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในสถานศึกษาเป็นต้น ซึ่งศธ.ไม่สามารถดูแลได้ครบทุกมิติ ศธ.จึงพยายามประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษาโดยตั้งเซฟตี้เซ็นเตอร์ หรือศูนย์ดูแลความปลอดภัยของ ศธ. ซึ่งจะมีคณะกรรมการคอยดูแลและมอนิเตอร์อยู่ทั้งนี้การดำเนินงานเบื้องต้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะมอบหมายให้โรงเรียนสำรวจและประเมินว่าในโรงเรียนมีเรื่องใดบ้างที่ทำให้เกิดความปลอดภัยในสถานศึกษาบ้าง โดยให้ไล่เรียงตามลำดับ ดังนั้นจึงขอให้โรงเรียนได้ร่วมมือสำรวจด้วย เพราะโรงเรียนแต่ละพื้นที่มีบริบทและมีความหลากหลายที่แตกต่างกัน เมื่อโรงเรียนประเมินความเสี่ยงของตนแล้ว… Continue reading ศธ. ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ขับเคลื่อนให้สถานศึกษาปลอดภัย